จดทะเบียนสมรส (แต่งงานกับคนไทยหรือคนตุรกี)

จดทะเบียนสมรส (แต่งงานกับคนไทยหรือคนตุรกี)

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 10 ต.ค. 2566

| 13,593 view

การจดทะเบียนสมรส

 

***เนื่องจากการจดทะเบียนสมรส มีเอกสารและขั้นตอนรายละเอียดซับซ้อน โปรดศึกษาและเตรียมเอกสารของท่านให้เรียบร้อยก่อนที่จะติดต่อ [email protected] เพื่อตรวจสอบเอกสารและนัดหมายวันจดทะเบียนสมรสต่อไป***

 

1. การสมรสระหว่างคนไทยด้วยกัน

การขอจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยด้วยกัน ผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยผู้ขอจดทะเบียนสมรสจะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ในกรณีเป็นผู้เยาว์จะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของผู้ปกครองมาแสดงต่อนายทะเบียน และต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

 

เอกสารที่ต้องใช้

1.      คำร้องขอจดทะเบียนสมรส

2.      บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

3.      สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด

4.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

5.      ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทย ไม่เกิน 6 เดือน กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไม่เกิน 6 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย

6.      หากเคยสมรสมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า พร้อมสำเนา 1 ชุดมาแสดง

กรณีที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 2 วันทำการ (ไม่มีค่าธรรมเนียม)


หมายเหตุ:

-  ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล ภายหลังการสมรสแล้ว คู่สมรสมีสิทธิเลือกใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างคงใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนทราบ

- ฝ่ายหญิงเมื่อสมรสตามกฎหมายไทยแล้ว สามารถใช้คำนำหน้านามเป็น "นางสาว" หรือ "นาง" ก็ได้

 

============================

 

2. การสมรสระหว่างคนไทยกับคนตุรกี

การขอจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยกับคนตุรกี ผู้ที่จะทำการสมรสจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

 

เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

1.      คำร้องขอจดทะเบียนสมรส

2.      บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

3.      สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด

4.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

5.      ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทยไม่เกิน 6 เดือน กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไม่เกิน 6 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย

6.      หากเคยสมรสมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า พร้อมสำเนา 1 ชุดมาแสดง

กรณีที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

 

เอกสารของบุคคลสัญชาติตุรกี

1.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

2.      บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุดพร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษ ผ่านการรับรองจาก (1) Notary Public (2) ทางการของจังหวัดที่ Notary Public นั้นตั้งอยู่ (Valilik หรือ Kaymakamlık) และ (3) กระทรวงการต่างประเทศตุรกี

3.      สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุดพร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษ ผ่านการรับรองจาก (1) Notary Public (2) ทางการของจังหวัดที่ Notary Public นั้นตั้งอยู่ (Valilik หรือ Kaymakamlık) และ (3) กระทรวงการต่างประเทศตุรกี

4.      ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยหน่วยงานท้องถิ่นไม่เกิน 6 เดือนพร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษ ผ่านการรับรองจาก (1) Notary Public (2) ทางการของจังหวัดที่ Notary Public นั้นตั้งอยู่ (Valilik หรือ Kaymakamlık) และ (3) กระทรวงการต่างประเทศตุรกี
 

หมายเหตุ : ในบางกรณีสถานเอกอัครราชทูตฯ อาจเรียกขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม

ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 2 วันทำการ (ไม่มีค่าธรรมเนียม)

 

=================================

 

3. การสมรสระหว่างคนไทยกับคนสัญชาติอื่นซึ่งมีถิ่นพำนักในตุรกี

การขอจดทะเบียนการสมรสระหว่างคนไทยกับคนสัญชาติอื่นซึ่งมีถิ่นพำนักในตุรกี ผู้ที่จะทำการสมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน

 

เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย

1.      คำร้องขอจดทะเบียนสมรส

2.      บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

3.      สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด

4.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

5.      ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทยไม่เกิน 6 เดือน กรณีที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมีหนังสือรับรอง (ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไม่เกิน 6 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย

6.      หากเคยสมรสมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า พร้อมสำเนา 1 ชุดมาแสดง

กรณีที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

 

เอกสารของบุคคลสัญชาติอื่น

1.      หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด

2.      หลักฐานการมีถิ่นพำนักในตุรกี 

3.      หนังสือรับรองสถานะการสมรส ออกโดยทางการของประเทศคู่สมรส ซึ่งจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการรับรองเอกสารจาก Notary Public และกระทรวงการต่างประเทศตุรกี

หมายเหตุ : สถานเอกอัครราชทูตฯ สงวนสิทธิในการเรียกดูเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติม และโปรดเขียนอีเมลไปที่ [email protected] เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 2 วันทำการ (ไม่มีค่าธรรมเนียม)