การเดินทางกลับประเทศไทย

การเดินทางกลับประเทศไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,838 view

แผนอพยพคนไทยปี 2553


ในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยที่อยู่อาศัยในตุรกีและอาเซอร์ไบจาน เช่น เหตุการณ์ความไม่สงบ วิกฤตการณ์ทางการเมือง/การก่อการร้าย ภาวะสงคราม ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว และโรคระบาดอย่างแพร่หลาย เป็นต้น โปรดโทรศัพท์ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตและหน่วยงานราชการไทยที่อยู่ใกล้เมืองที่อาศัยอยู่เพื่อขอทราบข้อมูลและคำแนะนำต่าง ๆ  ตามหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร ดังต่อไปนี้

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา (Royal Thai Embassy)
Koza Sokak. No. 87 Gaziosmanpasa 06700 Ankara-TURKEY

โทรศัพท์ (90 312) 437-4318, 437-52 48
โทรสาร (90 312) 437-84 95
E-mail : [email protected]

 

เจ้าหน้าที่คุ้มครองดูแลคนไทยและกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตฯ

นายอับดุลรอฮิม ดาตูมะดา  เลขานุการเอก
โทรศัพท์ (90 312) 436-71 60
โทรศัพท์เคลื่อนที่ (+90) 0533 775 01 16

สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครอิสตันบูล (Honorary Thai Consulate-General)
Kore Sehitleri Cad. Mithat Unlu Sok. No. 12 34394 Zincirlikuyu Istanbul-TURKEY
โทรศัพท์ (90 212) 347 3257 -58
โทรสาร (90 212) 347 44 05
e-mail: [email protected]

 

เจ้าหน้าที่ของสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครอิสตันบูล
Mr. Hayri Erenli : Public Relation Officer
โทรศัพท์เคลื่อนที่:  (90-212) 0532 253 01 55

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล (Thai Trade Centre)
Mete Cad. No. 14/3 Ayanoglu Ishani 80090 Taksim, Istanbul-TURKEY
โทรศัพท์ (90 212) 292-0910-11
โทรสาร (90 212) 292-0912
e-mail: [email protected]

 

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงบากู (Royal Thai Consulate)
SI Ltd. Hyatt Tower 2, 1033 Izmir Str. AZ 1065 Baku, Azerbaijan
โทรศัพท์ (994 12) 497 2142, 4974923
โทรสาร (994 12) 497 2143

 

***************************************

แผนดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในกรณีเกิดแผ่นดินไหว

 

ระดับที่ 1       การเตรียมความพร้อมในสภาวะปกติ

เป้าหมาย        เตรียมความพร้อมของสถานเอกอัครราชทูตฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินการ

            -          ปรับปรุงทะเบียนรายชื่อ/ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของคนไทยให้ทันสมัย

            -          ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ และอุปกรณ์สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่พร้อมใช้งานได้เสมอ

            -          ตรวจสอบยานพาหนะของสถานเอกอัครราชทูตฯ ให้พร้อมใช้ปฏิบัติงานได้เสมอ

            -          ประสานงานกับชมรมคนไทยและสมาคมคนไทย อย่างสม่ำเสมอ

            -          จัดทำรายชื่อและที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์บุคคล หรือหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการ 
                        ติดต่อให้ทันสมัย เช่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาล สายการบิน เป็นต้น

            -          ศึกษาแผนการดำเนินการช่วยเหลือและแนวปฏิบัติตนในกรณีแผ่นดินไหวของตุรกีเพื่อที่จะแนะนำคนไทยได้

            -          จัดทำแผ่นพับแนวปฏิบัติในกรณีแผ่นดินไหวและประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทราบ

 

ระดับที่ 2       ในกรณีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวทั้งระดับไม่รุนแรงและรุนแรง

เป้าหมาย        ตรวจสอบความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีแผ่นดินไหวและ After Shock และให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

การดำเนินการ

            -          ประสานงานกับสำนักงานการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล และสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครอิสตันบูล เพื่อให้เตรียมพร้อมในการ
                       ให้ความช่วยเหลือและช่วยสถานเอกอัครราชทูตฯ ในการตรวจสอบความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนไทย

            -          ติดตามข่าวสาร และร่วมกันประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในกรณีที่อาจจะมี After Shock และแจ้งข่าวให้คนไทยได้รับทราบ

           -          ตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือคนไทย และประชาสัมพันธ์เรื่องแนวปฏิบัติตนในกรณีแผ่นดินไหวซ้ำให้ชุมชนคนไทย และแกนนำคนไทยทราบ
                      เป็นระยะ (กระทรวงฯ ตั้งศูนย์ประสานงาน)

           -          สถานเอกอัครราชทูตฯ เตรียมสำรองเงินสดในมือเพื่อรับกรณีฉุกเฉิน และพิจารณาจัดเตรียมการสำรองอาหาร เวชภัณฑ์ สิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้
                      เพียงพอกับจำนวนคนไทยที่อาจต้องไปพักพิงในสถานที่พักพิงชั่วคราว

          -          จัดอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ในการประสานงานกันตลอด 24 ชั่วโมง

          -          จัดเตรียมหาสถานที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนไทยที่จะอพยพไปพักพิงในกรณีที่พักของคนไทยเสียหายจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้

          -          ประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงแนวทางการอพยพคนไทยออก
                     จากบริเวณที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว

 

***************************************


แผนดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง/สงคราม

 

ระดับที่ 1 (สีเขียว)      การเตรียมความพร้อมในสภาวะปกติ

ปัจจัยบ่งชี้       สถานการณ์ดำเนินไปอย่างปกติ

ปัจจัยควบคุม   รัฐบาลบริหารงานตามปกติ

เป้าหมาย        เตรียมความพร้อมของสถานเอกอัครราชทูตฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินการ

            -          ปรับปรุงทะเบียนรายชื่อ/ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของคนไทยให้ทันสมัย

           -          ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ

           -          ตรวจสอบยานพาหนะของสถานเอกอัครราชทูตฯ ให้พร้อมใช้ปฏิบัติงานได้เสมอ

           -          ประสานงานกับชมรมคนไทยและสมาคมคนไทย อย่างสม่ำเสมอ

          -          จัดทำรายชื่อและที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์บุคคล หรือหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อ
                     ให้ทันสมัย เช่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาล สายการบิน เป็นต้น

          -          ศึกษาการดำเนินการตามแผนอพยพ และเส้นทางการอพยพคนไทย และประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้รับทราบ

 

ระดับที่ 2 (สีเหลือง)    การเตรียมความพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุ

ปัจจัยบ่งชี้       เริ่มมีข่าวความไม่สงบ ข้อพิพาท และการปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ

ปัจจัยควบคุม   รัฐบาลท้องถิ่นยังควบคุมสถานการณ์ได้ในภาพรวม การดำเนินชีวิตเป็นไปตามปกติ

เป้าหมาย        คนไทยรับทราบสถานการณ์ รับทราบจุดติดต่อ เตรียมการดำเนินตามแผนอพยพ และออกประกาศห้ามคนไทยเดินทางไปยังสถานที่ที่มี
                        เหตุการณ์ความไม่สงบ

การดำเนินการ

           -          ติดตามข่าวสาร และร่วมกันประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรายงานให้กระทรวงฯ ทราบเป็นระยะ

           -          ซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินการตามแผนอพยพกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล และสถานกงสุลใหญ่
                      กิตติมศักดิ์ ณ นครอิสตันบูล และซักซ้อมการสื่อสารกับเครือข่ายคนไทยที่กำหนด

           -          แจ้งข่าว และแผนอพยพให้คนไทยรับทราบ เพื่อเตรียมตัวและเอกสารเดินทางให้พร้อม ตลอดจนการขอรับการตรวจลงตราจากประเทศที่
                      อาจต้องเดินทางไปพักพิง

          -          เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานเอกอัครราชทูตฯ

          -          จัดเตรียมศึกษาหาสถานที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนไทยที่จะอพยพไปพักพิง

 

ระดับที่ 3 (สีส้ม)        กรณีเกิดความไม่สงบในประเทศที่เริ่มส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย

ปัจจัยบ่งชี้       เกิดความไม่สงบเป็นระยะ มีการปะทะระหว่างกลุ่มต่าง ๆ มีแนวโน้มขยายตัวเป็นวงกว้าง

ปัจจัยควบคุม   รัฐบาลท้องถิ่นกำลังจะสูญเสียการควบคุม การดำรงชีวิตไม่เป็นปกติ บริการภาครัฐมีจำกัด แต่การคมนาคมเชิงพาณิชย์ยังเปิดดำเนินการ
                          อาจเริ่มลดเที่ยวบิน

เป้าหมาย        ให้คนไทยที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ในประเทศ เดินทางออกนอกประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะเด็ก สตรี และคนชรา

การดำเนินการ

           -          ติดตามข่าวสาร และร่วมกันประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรายงานให้กระทรวงฯ ทราบเป็นระยะ

           -          ทำการสำรวจและประเมินสถานการณ์ และติดต่อหารือกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อขอรับการประเมินสถานการณ์จากทางความไม่สงบ

           -          ประสานงานกับหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น และสถานเอกอัครราชทูตของมิตรประเทศเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินแผนอพยพ

           -          ตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือคนไทย และประชาสัมพันธ์เรื่องสถานการณ์ความไม่สงบให้ชุมชนคนไทย และแกนนำคนไทยทราบเป็นระยะ
                    (กระทรวงฯ ตั้งศูนย์ประสานงาน)

           -          สถานเอกอัครราชทูตฯ เตรียมสำรองเงินสดในมือเพื่อรับกรณีฉุกเฉิน และพิจารณาจัดเตรียมการสำรองอาหาร เวชภัณฑ์ สิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้
                    เพียงพอกับจำนวนคนไทยที่อาจต้องไปพักพิงในสถานที่พักพิงชั่วคราว

          -          เตรียมการหาสถานที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนไทยที่จะอพยพไปพักพิง

          -          ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบให้เดินทางออกนอกพื้นที่ให้มากที่สุดในขณะที่การบริการคมนาคมเชิงพาณิชย์ยัง
                     เป็นปกติอยู่ โดยเฉพาะเด็ก สตรี และคนชรา และประกาศแจ้งเตือนคนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์

         -          จัดอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ในการประสานงานกันตลอด 24 ชั่วโมง

         -          ประสานงานกับสายการบินตุรกีหรือสายการบินอื่น เพื่อเตรียมสำรองที่นั่งให้แก่คนไทยที่จะอพยพกลับประเทศไทย

         -          กำหนดแผนอพยพคนไทย โดยหารือกับรัฐบาลท้องถิ่น และกระทรวงฯ ถึงแนวทางในการดำเนินการ เช่น การใช้เครื่องบินพิเศษรับอพยพคน
                     ไทย ไปประเทศที่สามหรือกลับประเทศไทย


ระดับที่ 4 (สีแดง)       กรณีเกิดความไม่สงบและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้พำนักในประเทศจนถึงขั้นต้องอพยพคนไทยออกนอกประเทศ

ปัจจัยบ่งชี้       เกิดความไม่สงบอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความขาดแคลนอาหารและสาธารณูปโภค มี
                         สถานการณ์บ่งชี้ถึงความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน หากต้องพำนักอยู่ต่อไป

ปัจจัยควบคุม   รัฐบาลท้องถิ่นควบคุมสถานการณ์ได้ในวงจำกัด และคาดว่าจะเกิดภาวะสงครามที่รุนแรงเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ สายการบินพาณิชย์ให้
                          บริการในวงจำกัด หรือยกเลิกทำการบิน

เป้าหมาย        อพยพคนไทยที่เหลืออยู่ออกนอกพื้นที่ ปิดที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตฯ ชั่วคราว

การดำเนินการ

           -          ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบเดินทางไปพักพิงที่สถานที่พักพิงชั่วคราวหรือเดินทางกลับประเทศไทย
                      หากทำได้

           -          เปิดดำเนินการศูนย์ช่วยเหลือคนไทยที่จัดตั้งร่วมกันระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ และชุมชนชาวไทย และสถานที่พักพิงชั่วคราวอย่างเต็ม
                       ที่ โดยระดมเจ้าหน้าที่และแกนนำคนไทยในการดำเนินการในศูนย์ช่วยเหลือคนไทย และสถานที่พักพิงชั่วคราวในทุกด้าน และจัดเวรเจ้า
                       หน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง

           -          ประสานงานกับสำนักงานการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล และสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครอิสตันบูล รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่น
                      ในการพิจารณาหาทางนำคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งไม่สามารถเดินทางออกไปได้เอง ไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราว

           -          แจ้งอย่างเป็นทางต่อประเทศเจ้าบ้านในการดำเนินการอพยพคนไทย และขอรับการสนับสนุนการดำเนินการ เท่าที่จะให้ได้โดยเฉพาะการ
                      รักษาความปลอดภัยระหว่างการอพยพ และการรักษาความปลอดภัยของสถานที่พักพิงชั่วคราวและสถานเอกอัครราชทูตฯ

          -          เตรียมขนย้ายเอกสารสำคัญทางราชการ หรือทำลาย (เมื่อกระทรวงฯ เห็นชอบ)

          -          ดำเนินการตามแผนอพยพคนไทยอย่างเต็มรูปแบบ โดยประสานงานกับกระทรวงฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานเอกอัครราชทูตของมิตร
                     ประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และสายการบินตุรกี หรือสายการบินอื่นที่ได้ติดต่อประสานงานไว้ในการเคลื่อนย้ายและอพยพคนไทยออก
                     จากพื้นที่ไปยังประเทศที่มีความปลอดภัยในการพักพิงชั่วคราว หรือเดินทางกลับประเทศไทยตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และความ
                     พร้อมของยานพาหนะ

 

***************************************

แผนดำเนินการช่วยเหลือคนไทยในกรณีเกิดโรคระบาดอย่างแพร่หลาย

 

ระดับที่ 1 (สีเขียว)      การเตรียมความพร้อมในสภาวะปกติ

ปัจจัยบ่งชี้       สถานการณ์ดำเนินไปอย่างปกติ

ปัจจัยควบคุม   รัฐบาลบริหารงานตามปกติ

เป้าหมาย        เตรียมความพร้อมของสถานเอกอัครราชทูตฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินการ

            -          ปรับปรุงทะเบียนรายชื่อ/ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของคนไทยให้ทันสมัย

            -          ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสารให้ใช้ได้ดีอยู่เสมอ

            -          ตรวจสอบยานพาหนะของสถานเอกอัครราชทูตฯ ให้พร้อมใช้ปฏิบัติงานได้เสมอ

            -          ประสานงานกับชมรมคนไทยและสมาคมคนไทยอย่างสม่ำเสมอ

            -          จัดทำรายชื่อและที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์บุคคล หรือหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการ
                        ติดต่อให้ทันสมัย เช่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาล สายการบิน เป็นต้น

            -          ศึกษาการดำเนินการตามแผนอพยพ และเส้นทางการอพยพคนไทย และประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้รับทราบ

 

ระดับที่ 2 (สีเหลือง)    การเตรียมความพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุ

 

ปัจจัยบ่งชี้       เริ่มมีข่าวความไม่สงบ การแพร่ระบาดกำลังขยายพื้นที่มากขึ้น

ปัจจัยควบคุม   รัฐบาลท้องถิ่นยังควบคุมสถานการณ์ได้ในภาพรวม การดำเนินชีวิตเป็นไปตามปกติ

เป้าหมาย        คนไทยรับทราบสถานการณ์ รับทราบจุดติดต่อ เตรียมการดำเนินตามแผนอพยพ และออกประกาศห้ามคนไทยเดินทางไปยังสถานที่ที่มี
                        เหตุการณ์แพร่ระบาด

การดำเนินการ

            -          ติดตามข่าวสาร และร่วมกันประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรายงานให้กระทรวงฯ ทราบเป็นระยะ

            -          ซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินการตามแผนอพยพกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล และสถานกงสุลใหญ่
                       กิตติมศักดิ์ ณ นครอิสตันบูล และซักซ้อมการสื่อสารกับเครือข่ายคนไทยที่กำหนด และประสานโรงพยาบาลและแพทย์เพื่อประเมิน
                       สถานการณ์การช่วยเหลือคนไทย

            -          แจ้งข่าว และแผนอพยพให้คนไทยรับทราบ เพื่อเตรียมตัวและเอกสารเดินทางให้พร้อม ตลอดจนการขอรับการตรวจลงตราจากประเทศที่
                       อาจต้องเดินทางไปพักพิง

            -          เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานเอกอัครราชทูตฯ

            -          จัดเตรียมศึกษาหาสถานที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนไทยที่จะอพยพไปพักพิง

 

ระดับที่ 3 (สีส้ม)        กรณีเกิดความไม่สงบในประเทศที่เริ่มส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย

ปัจจัยบ่งชี้       เกิดความไม่สงบเป็นระยะๆ มีแนวโน้มโรคระบาดขยายตัวเป็นวงกว้าง

ปัจจัยควบคุม   รัฐบาลท้องถิ่นกำลังจะสูญเสียการควบคุม การดำรงชีวิตไม่เป็นปกติ บริการภาครัฐมีจำกัด แต่การคมนาคมเชิงพาณิชย์ยังเปิดดำเนินการ
                          อาจเริ่มลดเที่ยวบิน

เป้าหมาย        ให้คนไทยที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ในประเทศ เดินทางออกนอกประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะเด็ก สตรี และคนชรา

การดำเนินการ

           -          ติดตามข่าวสาร และร่วมกันประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และรายงานให้กระทรวงฯ ทราบเป็นระยะ

           -          ทำการสำรวจและประเมินสถานการณ์ และติดต่อหารือกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อขอรับการประเมินสถานการณ์จากทางสถานการณ์การระบาด
                      ของโรค

           -          ประสานงานกับหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น และสถานเอกอัครราชทูตของมิตรประเทศเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินแผนอพยพ

           -          ตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือคนไทย และประชาสัมพันธ์เรื่องสถานการณ์ความไม่สงบให้ชุมชนคนไทย และแกนนำคนไทยทราบเป็นระยะ
                     (กระทรวงฯ ตั้งศูนย์ประสานงาน)

           -          สถานเอกอัครราชทูตฯ เตรียมสำรองเงินสดในมือเพื่อรับกรณีฉุกเฉิน และพิจารณาจัดเตรียมการสำรองอาหาร เวชภัณฑ์ สิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้
                     เพียงพอกับจำนวนคนไทยที่อาจต้องไปพักพิงในสถานที่พักพิงชั่วคราว

          -          เตรียมการหาสถานที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนไทยที่จะอพยพไปพักพิง

          -          ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบให้เดินทางออกนอกพื้นที่ให้มากที่สุดในขณะที่การบริการคมนาคมเชิงพาณิชย์ยัง
                     เป็นปกติอยู่ โดยเฉพาะเด็ก สตรี และคนชรา และประกาศแจ้งเตือนคนไทยให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์

         -          จัดอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่เพื่อใช้ในการประสานงานกันตลอด 24 ชั่วโมง

         -          ประสานงานกับสายการบินตุรกีหรือสายการบินอื่น เพื่อเตรียมสำรองที่นั่งให้แก่คนไทยที่จะอพยพกลับประเทศไทย

         -          กำหนดแผนอพยพคนไทย โดยหารือกับรัฐบาลท้องถิ่น และกระทรวงฯ ถึงแนวทางในการดำเนินการ เช่น การใช้เครื่องบินพิเศษรับอพยพคน
                    ไทย ไปประเทศที่สามหรือกลับประเทศไทย

 


ระดับที่ 4 (สีแดง)       กรณีเกิดความไม่สงบและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้พำนักในประเทศจนถึงขั้นต้องอพยพคนไทยออกนอกประเทศ

ปัจจัยบ่งชี้       เกิดการระบาดอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความขาดแคลนอาหารและสาธารณูปโภค มีสถานการณ์
                         บ่งชี้ถึงความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน หากต้องพำนักอยู่ต่อไป

ปัจจัยควบคุม   รัฐบาลท้องถิ่นควบคุมสถานการณ์ได้ในวงจำกัด และคาดว่าจะเกิดภาวะระบาดที่รุนแรงเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ สายการบินพาณิชย์ให้
                         บริการในวงจำกัด หรือยกเลิกทำการบิน

เป้าหมาย        อพยพคนไทยที่เหลืออยู่ออกนอกพื้นที่ ปิดที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตฯ ชั่วคราว

การดำเนินการ

           -          ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบเดินทางไปพักพิงที่สถานที่พักพิงชั่วคราวหรือเดินทางกลับประเทศไทย
                      หากทำได้

          -          เปิดดำเนินการศูนย์ช่วยเหลือคนไทยที่จัดตั้งร่วมกันระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ และชุมชนชาวไทย และสถานที่พักพิงชั่วคราวอย่างเต็ม
                     ที่ โดยระดมเจ้าหน้าที่และแกนนำคนไทยในการดำเนินการในศูนย์ช่วยเหลือคนไทย และสถานที่พักพิงชั่วคราวในทุกด้าน และจัดเวรเจ้า
                     หน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง

          -          ประสานงานกับสำนักงานการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล และสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครอิสตันบูล รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่น
                     ในการพิจารณาหาทางนำคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งไม่สามารถเดินทางออกไปได้เอง ไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราว

         -          แจ้งอย่างเป็นทางต่อประเทศเจ้าบ้านในการดำเนินการอพยพคนไทย และขอรับการสนับสนุนการดำเนินการ เท่าที่จะให้ได้โดยเฉพาะการ
                    รักษาความปลอดภัยระหว่างการอพยพ และการรักษาความปลอดภัยของสถานที่พักพิงชั่วคราวและสถานเอกอัครราชทูตฯ

         -          เตรียมขนย้ายเอกสารสำคัญทางราชการ หรือทำลาย (เมื่อกระทรวงฯ เห็นชอบ)

         -          ดำเนินการตามแผนอพยพคนไทยอย่างเต็มรูปแบบ โดยประสานงานกับกระทรวงฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานเอกอัครราชทูตของมิตร
                    ประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และสายการบินตุรกี หรือสายการบินอื่นที่ได้ติดต่อประสานงานไว้ในการเคลื่อนย้ายและอพยพคนไทยออก
                    จากพื้นที่ไปยังประเทศที่มีความปลอดภัยในการพักพิงชั่วคราว หรือเดินทางกลับประเทศไทยตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และความ
                    พร้อมของยานพาหนะ

 

***************************************

 

        แผนดำเนินการช่วยเหลือคนไทยอพยพจากประเทศอื่นๆ

การดำเนินการ

           -          ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบเดินทางไปพักพิงที่สถานที่พักพิงชั่วคราวหรือเดินทางกลับประเทศไทย

           -          เปิดดำเนินการศูนย์ช่วยเหลือคนไทยที่จัดตั้งร่วมกันระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ และชุมชนชาวไทย และสถานที่พักพิงชั่วคราวอย่างเต็ม
                       ที่ โดยระดมเจ้าหน้าที่และแกนนำคนไทยในการดำเนินการในศูนย์ช่วยเหลือคนไทย และสถานที่พักพิงชั่วคราวในทุกด้าน และจัดเวรเจ้า
                      หน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง

          -          ประสานงานกับสำนักงานการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล และสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครอิสตันบูล รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่น
                     ในการพิจารณาหาทางนำคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราว

          -          แจ้งอย่างเป็นทางต่อประเทศเจ้าบ้านในการดำเนินการอพยพคนไทย และขอรับการสนับสนุนการดำเนินการ เท่าที่จะให้ได้โดยเฉพาะการ
                     รักษาความปลอดภัยระหว่างการอพยพ และการรักษาความปลอดภัยของสถานที่พักพิงชั่วคราว

          -          ดำเนินการตามแผนอพยพคนไทยอย่างเต็มรูปแบบ โดยประสานงานกับกระทรวงฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานเอกอัครราชทูตของมิตร
                     ประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และสายการบินตุรกี หรือสายการบินอื่นที่ได้ติดต่อประสานงานไว้ในการเคลื่อนย้ายและอพยพคนไทยออก
                     เดินทางกลับประเทศไทยตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และความพร้อมของยานพาหนะ

 

***************************************



[ Back On Top ]