เอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ร่วมพิธีลงนามข้อตกลง MOU ในกลุ่มสินค้ายางพารา และผลิตภัณฑ์ สินค้าอาหาร ระหว่างนักธุรกิจไทยและตุรกี (16 พ.ย. 62)

เอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ร่วมพิธีลงนามข้อตกลง MOU ในกลุ่มสินค้ายางพารา และผลิตภัณฑ์ สินค้าอาหาร ระหว่างนักธุรกิจไทยและตุรกี (16 พ.ย. 62)

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 พ.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 583 view

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 - นางพันทิพา เอี่ยมสุทธา เอกะโรหิต เอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา ได้เข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลง MOU ในกลุ่มสินค้ายางพารา และผลิตภัณฑ์ สินค้าอาหาร ระหว่างนักธุรกิจไทยและตุรกี และกิจกรรม Business Networking ที่นครอิสตันบูล โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานฯ


โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แจ้งว่าสำหรับการลงนามข้อตกลง MOU รวมยอดเฉพาะช่วงเช้าวันนี้ (16พย.2562) ทั้งยางพารา 60,000 ตัน ข้าว 6,000 ตัน มันสำปะหลัง 150,000 ตัน และซอสปรุงรส อีกทั้งมีการเจรจาเพิ่มเติม คือ ขายหมอนยางพารา 10 ล้านชิ้น กับทางการยางขายหมอนยางพาราอีก 10 ล้านชิ้นรวมเป็น 20 ล้านชิ้น รวมมูลค่าทั้งสิ้น 15,512 ล้านบาท โดยเริ่มส่งมอบผลิตภัณฑ์ยางล็อตแรกได้ไนเดือนธันวาคม 2562 นี้


ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ฯ อยู่ระหว่างการเยือนตุรกีเพื่อผลักดันและส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยและตุรกี โดยกล่าวว่า ตุรกีถือเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่มีประชากรมากถึง 80 ล้านและที่สำคัญตุรกีตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าที่มีความสำคัญเป็นประตูสู่ 3 ทวีป คือทั้งทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อการค้าได้ทั้งทางด้านเหนือ-ใต้-ตะวันตก-ตะวันออกตุรกีจึงเป็นตลาดที่ประเทศไทยเห็นว่ามีศักยภาพ และตุรกีเป็นตลาดที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศไทย และประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่ประเทศไทยนั้นก็ถือว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบในภูมิภาคเอเชียนั้นก็คือสามารถที่จะเป็นประตูไปสู่ทวีปเอเชียได้มีเส้นทางการค้าที่สะดวกเชื่อมต่อไปยัง จีนอินเดีย และอาเซียน ซึ่งนักธุรกิจทั้งไทยตุรกีสามารถใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเชิงสภาพภูมิศาสตร์ให้เป็นประโยชน์กับทั้งสองประเทศ


นอกจากนี้ ประเทศไทยและตุรกีกำลังมีการเจรจา FTA ระหว่างกัน โดยตั้งเป้าหมายว่าจะเสร็จในกลางปีหน้า ซึ่งการทำ FTA นั้น แม้ว่าทั้งไทยและตุรกีจะมีศักยภาพในอุตสาหกรรมเดียวกันและมีความใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอัญมณี อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร แต่ FTA จะส่งผลให้การค้าทั้งไทยและตุรกีนั้นมีความเกื้อกูลกันมากกว่าที่จะแข่งขันกันเอง โดยคาดว่า การค้าระหว่างไทยตุรกีจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายหลังการจัดทำ FTA

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ